Hyperloop เร็วที่สุดในโลกจริงหรือ?

Описание к видео Hyperloop เร็วที่สุดในโลกจริงหรือ?

สนับสนุนเด็ดต้องโดนง่ายๆ
- Subscribe/ Like/ Comment
- สมาชิกเด็ดต้องโดน:    / @dedtongdon  

Hyperloop คือรถไฟที่วิ่งได้เร็วกว่าเครื่องบิน
เป็นเหมือนยานอวกาศบนทางเรียบ ที่จะเปลี่ยนการเดินทางของคุณในอนาคตได้เลย
Time Stamp
0:00 Hyperloop เร็วที่สุดในโลกจริงหรือ?
0:46 Hyperloop ?
1:00 ข้อจำกัดความเร็ว
2:25 จุดเริ่ม
2:45 Elon Musk
3:20 Hyperloop TT
4:23 Virgin Hyperloop
5:56 Hardt Hyperloop
6:47 สรุป Hyperloop เร็วจริงหรือ ?
8:16 เรื่องท้าทาายของ Hyperloop

โลกเรามองหาวิธีเดินทางและการขนส่งที่เร็วกว่า และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอยู่เสมอ
เริ่มจาก
เครื่องบิน บินได้เร็วถึง 700-900 กม./ ชม เหมาะที่จะใช้เดินทางใกล แต่จะขาดประสิทธิภาพและต้นทุนสูง เมื่อบินในระยะที่ใกล้กว่า 700 กิโลเมตร
Maglev รถไฟความเร็วสูงที่ใช้พลังงานแม่เหล็กในการลอยตัวและเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องมีล้อ ทำให้กลายเป็นรถไฟที่วิ่งได้เร็ว ถึง 500-600 กม/ชม
Maglev กลายเป็นลูกครึ่งซึ่งเร็วเหมือนเครื่องบิน แต่คล่องตัวเหมือนรถไฟเพราะทำสถานีในตัวเมืองได้

Hyperloop คืออะไร ?
Hyperloop คือรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งได้เร็วถึง 1,200 กม/ชม เร็วกว่าเครื่องบินซ๊ะอีก ด้วยการรวม 2 เทคโนโลยีสุดเจ๋งเข้าด้วยกัน คือ การใช้รถไฟ Maglev วิ่งในท่อสุญญกาศ เพื่อลดข้อจำกัดด้านความเร็วของยานภาหนะ 2 ข้อสำคัญคือ
1 แรงเสียดทาน
ถึงแม้รถไฟ Maglev จะเป็นสุดยอดเทคโนโลยี ที่ใช้พลังงานแม่เหล็กช่วยในการลอยตัวจากพื้น และช่วยในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วถึง 500-600 กม/ชม เพราะ Maglev ไม่ต้องมีล้อ ช่วยให้ลดแรงเสียดทานระหว่างล้อและพื้นรางลงได้มหาศาล ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้ รถไฟความเร็วสูงที่ใช้ล้อวิ่งได้เร็วเพียง 300 กม/ชม
แต่ Maglev ก็ยังเหลือข้อจำกัดอีกข้อคือ แรงต้านของอากาศ ในขณะที่ Maglev วิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วแม้ว่า จะออกแบบตามหลักพลศาสตร์ให้ลู่ลมที่สุดแล้ว
2 แรงต้านอากาศ
ยานอวกาศ เช่น ยาน Crew Dragon ของ SpaceX สามารถบินในอวกาศ ได้เร็วถึง 25,000 กม/ชม (NASA) โดยใช้พลังงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับพื้นโลก เพราะยานอวกาศไม่มีแรงเสียดทานจากล้อ และไม่มีแรงต้านอากาศเพราะในอวกาศเป็นสุญญกาศ ซึ่งยานอวกาศบินได้เร็วเพาะไม่มีข้อจำกัดด้านความเร็วทั้งสองข้อครับ
Hyperloop ใช้แนวคิดเดียวกัน โดยดูดอากาศออกจากท่อจนเกือบเป็นสุญญกาศ เหมือนกับชั้นบรรยากาศตอนที่เครื่องบินสูงจากพื้นโลก 60 กม. สูงขึ้น 6 เท่าจากที่เครื่องบินโดยสารปรกติบินอยู่ที่ความสูง 10 กม. เพื่อให้รถไฟ Maglev วิ่งโดยไม่มีแรงต้านจากอากาศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วได้เป็น 1,200 กม/ชม ล้ำสุดๆครับ

ปี 1847 ได้เริ่มมีการเสนอไอเดียการสร้างรถไฟวิ่งในท่อดูดอากาศ โดย Isambard Brunel วิศวกรชาวอังกฤษ มาเป็นร้อยปีแล้ว ด้วยแนวคิดการขับเคลื่อนรถม้า ที่เกิดจากแรงดันที่ดูดอากาศออกจากท่อ แล้ววิ่งได้เร็ว 110 กม/ชม แต่ทดลองใช้ได้ไม่นานก็ล้มเหลวเพราะมีอากาศรั่วจากท่อ
ปี 2013 Elon Musk เจ้าพ่อนักพัฒนาเทคโนโลยีและมหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลก ได้แรงบันดาลใจจากไอเดียเดิมของ Isambard มาปัดฝุ่น แล้วเสนอเป็นไอเดียใหม่ในชื่อ Hyperloop ยานภาหนะแห่งอนาคตที่จะวิ่งได้เร็วที่สุดในโลกถึง 1,200 กม/ชม

Hyperloop TT (Hyperloop Transportation Technologies)
บริษัทอเมริกัน ที่ระดมทุนไปกว่า 1,500 ล้านบาท
ออกแบบ Hyperloop ที่บรรจุผู้โดยสารได้ครั้งละ 28 – 50 คน
พัฒนาวัสดุพิเศษ Carbon Smart Fiber ที่ฝัง sensor ใช้หุ้มผิวของ Hyperloop เพื่อ เก็บข้อมูลต่างๆ เช่น ความเสถียร อุณหภูมิ โดยไม่ต้องมีสาย

Virgin Hyperloop
บริษัทอเมริกัน เดิมชื่อ Hyperloop One แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Virgin Hyperloop หลังจากมหาเศรษฐีชาวอังกฤษ Richard Branson เข้าร่วมทุน แล้วระดมทุนไปกว่า 12,000 ล้านบาท
ถึงปัจจุบัน Virgin Hyperloop ถือได้ว่าเป็นทีม Hyperloop ที่ก้าวหน้าที่สุด
สามารถสร้างเส้นทางทดสอบ Hyperloop เต็มรูปแบบเสร็จเป็นรายแรกของโลกในทะเลทรายที่ Las Vegas อเมริกา ยาว 500 เมตร
ปี 2017 มีการทดสอบ Hyperloop แบบไร้ผู้โดยสาร ด้วยยานชื่อ XP-1 ได้เร็วสุดที่ 310 กม/ชม
ปี 2020 มีการทดสอบ Hyperloop แบบมีผู้โดยสารเป็นครั้งแรกของโลก ด้วยยานชื่อ XP- 2 โดยมีผู้โดยสาร 2 คนซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของ Virgin Hyperloop เอง คือ Josh Giegel ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO

เกิดอะไรขึ้นกับ Hyperloop ?
เกือบสิบปีที่ผ่านมา Hyperloop เป็นกระแสที่แรงสุดๆ ในสื่อต่างๆ
หลายคนเชื่อว่ามันคือยานภาหนะแห่งอนาคตที่เป็นจริงได้ และหลายคนคิดว่ามันเป็นเพียงแค่เทคโนโลยีในฝัน
ตั้งแต่ปี 2013 ที่ Elon Musk เสนอไอเดีย Hyperloop ขึ้นตัวเค้าเองก็ไม่เคยโฟกัสพัฒนา Hyperloop ต่อเลย
Elon Musk เพียงเป็นผู้สนับสนุน ให้มีการแข่งขัน Hyperloop ระดับนักศึกษา

ส่วน Hyperloop ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่ต้องพิสูจน์ตัวเองอีกเยอะครับ เช่น
1. การทำท่อสุญญกาศ
การดูดอากาศออกจากท่อตามแนวเส้นทาง Hyperloop ที่ยาวเป็น 100 กม. ให้เป็นสุญญกาศเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ขนาดเส้นทางทดสอบที่ยาวที่สุดของ Virgin Hyperloop ยังทำได้ยาวแค่ 500 เมตรครับ
2. ความปลอดภัยของท่อสุญญกาศ
ความปลอดภัยจากการระเบิดของท่อที่สูบอากาศออกจนเป็นสุญญากาศ ที่ต้องทนแรงอัดมหาศาลของอากาศนอกท่อที่มากกว่าในท่อถึง 1,000 เท่า ตลอดเส้นทาง นั้นก็เป็นเรื่องที่เสี่ยงและท้าทายมาก
3. ความคุ้มค่าในการลงทุน
Hyperloop อาจเป็นเทคโนโลยีที่ไม่คุ้มทุน เพราะขนาดการลงทุนใน ไฟ Maglev ซึ่งต้นทุนน้อยกว่า และรองรับผู้โดยสารต่อเที่ยวได้มากกว่าเป็นร้อยคน ยังใช้เวลานานมากกว่าจะคุ้มทุน ส่วน Hyperloop ลงทุนสูงกว่า และรองรับผู้โดยสารต่อเที่ยวได้น้อยกว่า อาจทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนครับ
โดยส่วนตัวผมแล้ว ถ้า Hyperloop เกิดขึ้นได้จริง คงเหมาะที่จะเริ่มใช้ในการขนส่งค้าก่อน เพื่อพิสูจน์ด้านความปลอดภัยและความไว้ใจให้ผู้คน ครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке